วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มุฮัมมัด อะซัด ชาวยิวผู้เข้ารับอิสลาม หนึ่งในตำนานการฟื้นฟูอิสลามร่วมสมัย

              อัล อัค เรียบเรียง

มุฮัม มัด อะซัด(1900-92) ชาวยิวที่หันมารับอิสลาม เดิมชื่อว่า Leopold Weiss แต่ท่านมิใช่เป็นแค่ผู้เปลี่ยนมานับถืออิสลามตามที่พบเห็นทั่วไปแต่ท่านได้ แสวงหาความสมบูรณ์ของความศรัทธาท่านได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอิสลามร่วมสมัย ในฐานะนักเขียน นักเคลื่อนไหว นักการทูต และนักแปลความหมายอัลกุรอาน
            มุฮัมมัดเกิดวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ 1900 ในเมือง Lvov (Lemberg)ใน Galicia ตะวันออก ปัจจุบันอยู่ในประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย(ซึ่งมีความกว้างกว่าประเทศออสเตรีย ในปัจจุบันมาก) มารดาของอะซัด เป็นบุตรสาวของนายธนาคารที่มั่งคั่งของท้องถิ่น ทางฝ่ายบิดานั้น อะซัดมีปู่ที่สืบเชื้อสายมาจากพวกรับไบ Orthodox

ครอบครัวของอะซัดได้ย้ายไป อยู่ในกรุงเวียนนา(เมืองหลวงประเทศออสเตรีย)  อะซัดเติบโตมาพร้อมกับการเรียนรู้ศาสนายูดาย แต่ท่านไม่พอใจกับการนำเสนอลักษณะของพระเจ้าในลัทธิศาสนายิวที่ดูไม่เป็น สากล เป็นลักษณะของ “เผ่า”
มากกว่า การศึกษาศาสนาของอะซัดทำให้ตัวท่านออกห่างจากศาสนายูดาย



ตอนอะซัดอายุได้ 14 ปีได้หนีออกจากบ้านและได้เข้าร่วมกับกองทัพออสเตรียเพื่อต่อสู้ในสงครามโลก ครั้งที่ 1  ต่อมาปี 1918 อะซัดเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเวียนนา ตอนเย็นๆท่านจะใช้เวลาไปกับการนั่งฟังการถกกันของพวกนักจิตวิเคราะห์แห่ง เวียนนา แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นคนที่เรียนเก่ง แต่อะซัดเริ่มไม่ชอบชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ท่านจึงขัดใจบิดาด้วยการทิ้งมหาวิทยาลัย ด้วยการเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน(เยอรมัน)เพื่อเป็นนักหนังสือพิมพ์ตามความไฝ่ ฝัน ในปี 1920 ท่านจึงเริ่มอาชีพนักหนังสือพิมพ์ชื่อว่า litt้rateurs ซึ่ง เป็นหนังสือพิมพ์ที่โดดเด่นมากที่สุดฉบับหนึ่งของยุโรปสมัยนั้น
Sample Image
อาชีพของอะซัดได้นำท่านไปสู่ปาเลสไตน์ อิยิปต์ ซีเรีย อิรัก เปอร์เซีย จอร์แดน ซาอุดิอารเบีย และอัฟฆอนิสตาน ทำให้ท่านมีมุมมองที่ชัดเชนต่อสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นปัญหาปาเลสไตน์






ใน ต้นปี 1922 น้าของอะซัด ได้ชวนท่านไปเยือนเยรูซาเล็ม อะซัดตอบรับคำเชื้อเชิญ (ตอนนั้นไซออนนิสต์ยังไม่ได้ยึดครองปาเลสไตน์) อะซัดได้พักอยู่ที่บ้านน้าของท่าน ตรงนี้เองคือจุดแรกของการเปิดประตูของอะซัดไปสู่ความแท้จริงของอิสลาม

แต่ อะซัดต้องเผชิญหน้ากับสิ่งอื่นก่อน นั่นก็คือลัทธิไซออนนิสต์(ลัทธิของกลุ่มชาวยิวที่ต้องการยึดครองปาเลสไตน์ เพื่อตั้งประเทศอิสราเอล) แม้ว่าน้าที่ท่านพักด้วยจะไม่ใช่พวกที่เลื่อมใสในลัทธิไซออนนิสต์ แต่ท่านยังมีน้าอีกคนในเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นพวกไซออนนิสต์ชั้นแนวหน้า

ที่นี้เองที่มุฮัมมัด อะซัด ได้โต้แย้งกับบุคคลสำคัญที่สุดของขบวนการไซออนนิสต์คือ Dr.  Chaim Weizmann โดยท่านได้ถามถึงชะตา กรรมของชาวอาหรับ ซึ่งตอนนั้นเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่นั่น คำตอบจาก Dr.  Weizmann ก็คือ “เราคาดว่า เราจะกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ในอีก 2-3 ปี”

มุฮัมมัด อะซัด ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Road to Mecca  ว่า “แม้ ต้นกำเนิดข้าพเจ้าจะเป็นยิว….. ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นการผิด ศีลธรรมที่มีผู้อพยพ– ด้วยการช่วยเหลือของอำนาจต่างชาติ – จะเข้ามาจากนอกประเทศเพื่อให้กลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ของปาเลสไตน์ ….”

มุฮัมมัด อะซัด รู้สึกเศร้าอย่างยิ่งกับประสบการณ์ในปาเลสไตน์ ยิ่งทำให้ท่านเศร้าหนักไปอีก เมื่อต่อมาท่านได้ประจักษ์ว่า ปาเลสไตน์ถูกยึดครองไปจริงๆ

การได้มีโอกาสได้เดินทางไปทั่วโลกมุสลิมในอีก2-3 ปีต่อมา ทำให้อะซัดมีความสนใจอย่างลึกซึ้งต่ออิสลาม พร้อมๆกันนั้นท่านได้ตรวจสอบเจาะลึกถึงความตกต่ำของมุสลิมโดยทั่วไปด้วย(ยุค ของท่าน โลกมุสลิมส่วนใหญ่ยังเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง) ความต้องการเข้าใจมุสลิมทำให้อะซัดเริ่มเข้าหาคำสอนดั้งเดิมของอิสลาม อันได้แก่อัลกุรอาน โดยท่านเริ่มศึกษาภาษาอาหรับ แล้วเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวมุสลิม

ใน เดือนกันยายน ปี 1926 ท่านได้รับอิสลามที่สมาคมอิสลามแห่งเบอร์ลิน และเปลี่ยนชื่อมาเป็นมุฮัมมัด อะซัด มีคนตั้งคำถามถึงเหตุผลการรับอิสลามของท่าน ท่านได้กล่าวเอาไว้ถึงเรื่องนี้หนังสือ Islam at the Crossroads ว่า

....ข้าพเจ้าถูกถามครั้งแล้วครั้งเล่า “ทำไมถึงเข้ารับอิสลาม?” “มัน มีอะไรดึงดูดใจคุณเป็นพิเศษ?” ข้าพเจ้าต้องสารภาพว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบจะหาคำตอบที่พึงพอใจแบบใดดี  เพราะมันไม่ได้มีคำสอน ‘เฉพาะ’ อันใดที่ดึงดูดใจข้าพเจ้า แต่มันคือโครงสร้างของคำสอนทางจริยธรรมและโปรแกรมการปฏิบัติของชีวิตทั้งหมด ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้อย่างน่าอัศจรรย์โดยมิอาจอธิบายได้  ข้าพเจ้าไม่อาจกล่าวได้แม้แต่ตอนนี้ว่า คำสอนข้อใดที่ดลใจข้าพเจ้ามากกว่าข้อใด อิสลามปรากฏต่อข้าพเจ้าดั่งงานทางสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบ แต่ละส่วนของมันทั้งหมดแสดงออกถึงการเสริมและหนุนส่วนอื่นๆอย่างกลมกลืน โดยปราศจากส่วนเกินและส่วนขาด ก่อให้เกิดผลที่ได้ ‘ดุลยภาพ’ ที่พอดี และ‘ความสงบนิ่ง’ ที่แข็งแกร่ง บางทีความรู้สึกเกิดจากทุกๆสิ่งในคำสอนและการวางเงื่อนไขต่างๆของอิสลามที่‘อยู่ ในจุดที่เหมาะสม’ นั้นได้สร้างความประทับใจอย่างยิ่งยวดต่อตัวข้าพเจ้า

จากนั้นอะซัดได้ใช้เวลาในมะดีนะฮฺอีก 5-6 ปีเพื่อศึกษาอิสลามและภาษาอาหรับ ด้วยการเข้าถึงเจตนารมณ์ของอิสลามและความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆที่ รุ้มเร้าประชาชาติมุสลิม ทำให้อะซัดมีบทบาทใหม่ในการอธิบายความเสื่อมของโลกมุสลิมและวิธีการฟื้นฟู มัน ท่านได้มีโอกาสไปพบกับบรรดาอุละมาอ์และผู้นำมุสลิมจำนวนมาก เพื่อ ทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนวคิดของท่าน ท่านเป็นเพื่อนสนิทกับมุฮัมมัด อิกบาล กวีเอกของโลกมุสลิม และสนิทสนมกับกษัตริย์ไฟศอล ผู้สมถะและจริงจังกับการฟื้นฟูศาสนา และรู้จักเป็นอย่างดีกับผู้นำขบวนการต่อสู้และฟื้นฟูอิสลามจำนวนมาก

หนังสือเล่มเล็กๆแต่สำคัญมาก ของท่านชื่อว่า Islam at the Crossroads หรือ “อิสลาม ณ ทางแพร่ง” ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1934 เพื่อหาทางออกให้กับประชาชาติมุสลิม

อะซัดได้ใช้ชีวิตในช่วงหลัง หมดไปกับการทำงานเพื่อกอบกู้โลกมุสลิมจากความตกต่ำ ด้านหนึ่งท่านได้ทำงานด้านความคิดและวิชาการ โดย เฉพาะการถ่ายทอดสาส์นแห่งอิสลาม ดังงานของท่านในการแปลความหมายกุรอานเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า The Message of the Qur'an พร้อมกับคำอธิบาย ถูกตีพิมพ์ในปี 1980 ใน อีกด้านหนึ่งท่านได้ลงสู่สนามปฏิบัติจริง ดังเช่นท่านพยายามต่อสู้เพื่อให้ปากีสถานเป็นรัฐอิสลามหลังจากได้รับเอกราช

ในปี 1987 อะซัดได้พิมพ์แผยแผ่หนังสือ ชื่อ This Law of Ours and Other Essays Sample Image ซึ่งเป็นการรวมบทความว่าด้วยแนวคิดทางการเมืองและศาสนาที่ท่านได้เขียนใน หลายๆปี รวมทั้งหนังสือชื่อ "Answers of Islam," "Calling All Muslims," และ "A Vision of Jerusalem"  อีกด้วย

หนังสือสำคัญที่ท่านได้เขียน เป็นอัตชีวประวัติของท่านชื่อว่า  the Road to Mecca  เป็น หนังสือที่เล่าเรื่องได้อย่างน่าติดตามและสะท้อนถึงคำสอนอิสลาม จึงไม่แปลกที่ปัญญาชนผู้เข้ารับอิสลามจำนวนมากในโลกตะวันตกก็เนื่องจากแรง ผลักดันที่ได้จากเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้(ดังการบอกเล่าจากมัรยัม ญะมีละฮฺ สตรีชาวยิวที่เข้ารับอิสลาม)

มุ ฮัมมัด อะซัด เป็นนักคิดมุสลิมร่วมสมัยที่พรั่งพร้อมด้วยการใช้ภาษาตะวันตก(ท่านสามารถใช้ ภาษาต่างๆทั้งตะวันออกและตะวันตกได้เกือบสิบภาษา) มีความรู้เรื่องไบเบิลเป็นอย่างดี พร้อมกับความรู้ในประวัติศาสตร์และอารยธรรมของยิว องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ช่วยทำให้อะซัดบรรลุการนำสาส์นไปสู่มุสลิมและผู้ไม่ ใช่มุสลิมได้อย่างเท่าเทียมกัน

มุฮัมมัด อะซัด ได้ปลุกความหวังให้เกิดขึ้นกับคนหนุ่มสาวในโลกมุสลิม ทั้งในด้านอุดมคติและความมุ่งมั่นในการคิดและการใช้เหตุผล

มุฮัมมัด อะซัด เสียชีวิตในปี 1992 ด้วยอายุ 92 ปี ที่ประเทศสเปน นับเป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญแห่งศตวรรษคนหนึ่งอย่างแท้จริง

การ เข้ามามีส่วนร่วมการฟื้นฟูอิสลามในโลกสมัยใหม่ของท่าน ได้แสดงให้เห็นว่า ในด้านหนึ่งโลกมุสลิมต้องทุกข์ทรมาณกับการรุกรานของชนชาติยิวในเขตยึดครอง ปาเลสไตน์ แต่ในอีกด้านหนึ่งโลกมุสลิมก็กลับได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาจากผลงานที่ปฏิเสธ ไม่ได้ของปัญญาชนชาวยิวที่หันมารับอิสลามหลายท่าน ซึ่งได้เข้ามาร่วมกับกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม ดัง เช่นงานของมุฮัมมัด อะซัด และ มัรยัม ญะมีละฮฺ

http://www.ymat.org/local/index.php?option=com_content&task=view&id=233&Itemid=44

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น